โคโตะ

โคโตะ เครื่องดนตรีญี่ปุ่น

โคโตะ (Koto, 箏) คือเครื่องสายโบราณที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นอย่างนึงเลย ถูกเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น เรียกว่า zheng ในประเทศจีน เรียกว่า yatga ในประเทศมองโกเลีย และเรียกว่า gayaguem ในเกาหลี โกโตะมีความยาวประมาณ 180 เซนติเมตร ทำจากไม้ kiri มี 13 สาย ซึ่งทำจากเส้นไหม วิธีดีดจะใช้เพียง 3 นิ้ว คือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง

 

 

Koto2

 

โคโตะ ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นในช่วงปลายศตวรรษที่ 7 และ 8 โดยนักดนตรีจากจีนและเกาหลีที่เล่นในวงออเคสตร้า โคโตะแบบดั้งเดิมมี 5 สาย และถูกพัฒนามาเป็น 7 สายในเวลาต่อมา แต่ตอนถูกนำมาที่ญี่ปุ่นในสมัยนาระ (Nara) ก็ถูกพัฒนาเป็น 13 สายแล้ว ความหลากหลายของเครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากรูปแบบพื้นฐาน 2 แบบ คือ พิณแบบมีคอ และพิณแบบราบไปเลยไม่มีคอ แบบที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในจีนคือ qin ซึ่งรูปแบบจะคล้ายกับเครื่องดนตรีทั่วไปในเอเชีย

ครั้งแรกที่โคโตะถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่น คำว่า “โคโตะ” ยังใช้เรียกแทนเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นทุกชนิดที่เป็นเครื่องสาย เวลาผ่านไป คำว่า “โคโตะ” ไม่สามารถบ่งบอกชนิดของเครื่องสายได้ชัดเจน เพราะเครื่องสายก็มีหลากหลายชนิดและแตกต่างกันไป เช่น kin no koto ก็เรียกสั้นๆ ว่า kin, sau no koto ก็เรียกสั้นๆ ว่า soo แต่รวมๆ เราก็ยังเรียกเครื่องสายว่า “โคโตะ” อยู่ดี

โคโตะเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมมากในหมู่คนมีฐานนะในประเทศญี่ปุ่น และนับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่โรแมนติกชนิดหนึ่งเลยทีเดียว โคโตะยังถูกกล่าวถึงในนิทานเรื่อง ตำนานของเกนจิ ในตอนที่เกนจิตกหลุมรักหญิงลึกลับ ผู้ซึ่งเขาไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เพียงแค่ได้ยินเสียงโคโตะที่หญิงสาวผู้นั้นบรรเลง มาจากที่ไกล…

โคโตะถึงเริ่มมีชื่อเสียงในการแสดงเดี่ยว ในศตวรรษที่ 16 พระในศาสนาพุทธ ชื่อว่า เคนจุน ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของคิวชูเริ่มแต่งเพลงที่ใช้เล่นกับโคโตะ เรียกว่า “ซึกุชิ โกโตะ”

อาจเป็นไปได้ว่า คนที่มีอิทธิพลส่งผลให้โกโตะเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ยาซึฮาชิ เคนเกียว เขาคือนักดนตรีจากเกียวโต ที่เปลี่ยนเพลง 6 เพลงซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในการบรรเลงโกโตะแบบดั้งเดิมให้เกิดในรูปแบบใหม่ เรียกว่า คุมิ อุตะ ยาซึฮาชิ เขาจึงเป็นที่รู้จักในนาม บิดาแห่งโกโตะสมัยใหม่

คนที่มีอิทธิพลต่อโกโตะอีกคนหนึ่งก็คือ มิชิโอะ มิยากิ นักแต่งเพลงในสมัยเมจิ เป็นนักแต่งเพลงคนแรกที่นำเอาเพลงดั้งเดิมของโกโตะมาผสมผสานกับเพลงตะวันตกสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ทำให้โกโตะซึ่งกำลังจะถูกกระแสนิยมตะวันตกกลืนหายไปกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง เขาประพันธ์เพลงใหม่ไว้ถึง 300 กว่าเพลง และประดิษฐ์โกโตะ 17 สาย เพื่อการเล่นที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ เขายังทำให้โกโตะเป้นที่รู้จักไปในอีกหลายประเทศ โดยการไปแสดงในที่ต่างๆ ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 62 ปี ด้วยอุบัติเหตุทางรถไฟ

ในปัจจุบันโกโตะมีการสอนอย่างแพร่หลาย และมีการดัดแปลงให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่มากขึ้น มีวงดนตรีแนวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวตะวันตก หรือ pop-rock นำไปเล่นอยู่เสมอๆ และมีโรงเรียนสอนที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมถึงมีศิลปินโกโตะที่อยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก

1290991276

CR. http://www.marumura.com/culture/?id=2930

ใส่ความเห็น