0

อุด้ง

อุดง (ญี่ปุ่น: 饂飩, うどん udon ?) เป็นอาหารญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลี ลักษณะเป็นเส้น หนา ยาว มีสีขาว

อุดง นิยมรับประทานทานร้อนๆ ในน้ำซุปใส ซึ่งทำจากดาชิ (ญี่ปุ่น: 出汁, だし dashi ?) (หัวเชื้อน้ำซุป) และโชยุ (ญี่ปุ่น: 醤油 shōyu ?) (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) และมิริน (ญี่ปุ่น: 味醂, みりん mirin ?) (เหล้าสำหรับปรุงอาหาร)

อุดง มีชื่อเรียกหลายชื่อ ขึ้นอยู่กับอาหารที่นำมาวางบนเส้นอุดง เช่น เทมปุระอุดง (ญี่ปุ่น: 天ぷらうどん tempura udon ?) คือ อุดงหน้ากุ้งชุบแป้งทอด และ คิทสึเนะอุดง (ญี่ปุ่น: きつねうどん kitsune udon ?) คือ อุดงหน้าเต้าหู้หวาน เป็นต้น

ต้นกำเนิด

เส้นอุดงมีต้นกำเนิดมาจาก เส้นชูเมี่ยน (ภาษาจีน:粗麵 , พินอิน: cū miàn) ของประเทศจีน เป็นเส้นทำจากแป้งสาลี ยาว หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร นิยมทานในน้ำซุปผสมเต้าเจี้ยว ถือเป็นอาหารภาคเหนือของจีน

เส้นอุดง ได้เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นที่เดินทางไปจาริกยังประเทศจีน ชาวญี่ปุ่นได้ยกย่องพระคูไค (ญี่ปุ่น: 空海  Kūkai ?) และพระเอ็นนิ (ญี่ปุ่น: 圓爾辯圓 Enni Ben’en ?) ให้เป็นต้นตำรับการปรุงเส้นอุดงของญี่ปุ่น พระคูไคเดินทางไปยังประเทศจีนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 9เพื่อศึกษาพุทธศาสนา โดยอดีตจังหวัดซะนุคิ (ญี่ปุ่น: 讃岐国 Sanuki no kuni ?) บนเกาะชิโกะกุ (ญี่ปุ่น: 四国  Shikoku ?) หรือปัจจุบันคือจังหวัดคะงะวะ (ญี่ปุ่น: 香川県 Kagawa-ken ?) ประกาศตัวเป็นผู้สืบทอดสูตรการทำอุดงจากพระคูไค ส่วนพระเอ็นนิ ซึ่งเป็นพระนิกายเซน (ญี่ปุ่น:  Zen ?) สำนักรินไซ (ญี่ปุ่น: 臨済宗 Rinzai-s ?) ได้เดินทางไปประเทศจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยมีเมืองฮะคะตะ (ญี่ปุ่น: 博多区 Hakata-ku ?) จังหวัดฟุกุโอกะ(ญี่ปุ่น: 福岡県 Fukuoka-ken ?) เป็นผู้ประกาศว่าสืบทอดสูตรของพระเอ็นนิ

อาหารที่ทำจากเส้นอุดง

ช่นเดียวกับอาหารเส้นอื่นๆของญี่ปุ่น อุดงนิยมรับประทานเย็นในฤดูร้อน และรับประทานร้อนในฤดูหนาว อาหารต่างๆที่นำมาวางบนเส้นอุดงแสดงถึงฤดูกาลนั้นๆ และความสมดุลกับส่วนผสมอื่นๆ อาหารที่นำมาวางบนเส้นอุดงนั้นถูกปรุงอย่างเรียบง่าย บางครั้ง นำไปทานกับเส้นโซบะได้เช่นกัน

อุดงร้อน

CR.https://th.wikipedia.org/wiki/

0

ซูชิ

ซูชิ (ญี่ปุ่น: 寿司 sushi ซุชิ  และมีการเขียนหลายแบบ ได้แก่ すし、鮨、鮓、寿斗、寿し、壽司 ?) หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิ บนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น

ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น

คำว่า “ซูชิ” นิยมหมายถึง นิงิริซูชิ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น

ซูชิ

ประเภทของซูชิ

* นิงิริซูชิ (Nigiri Sushi) เป็นซูชิพบได้บ่อยในภัตตาคาร ซูชิจะมีลักษณะข้าวเป็นก้อนรูปวงรีแล้ววางเนื้อปลาดิบ ปลาหมึก ฯลฯ ไว้ข้างบน อาจจะใส่วาซาบิเล็กน้อย หรือตกแต่งด้วยสาหร่ายทะเลก็ได้ ซูชิแบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด

ข้าวปั้นที่กดข้าวเป็นสี่เหลี่ยมมนๆ ด้วยฝ่ามือและมีอาหารสดวางอยู่เด้านบน มีวาซาบิใส่ไว้นิดหน่อยระหว่างกลาง อาจมีการพันสาหร่ายแผ่นบางๆ ไว้ด้วย วัตถุดิบที่นิยมนำมาทำก็คือ ปลาดิบ ปลาหมึก ปลาไหล ไข่หวาน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หอยเม่น หรืออาหารทะเลอื่นๆ ก็ได้เหมือนกัน

* Hosomaki ซูชิทรงกระบอกขนาดเล็กบางๆ ห่อด้วยสาหร่าย ส่วนใหญ่จะมีไส้เพียงอย่างเดียว เช่น แตงกวา แครอท ทูน่า เป็นต้น โดยที่ไส้แตงกวา จะเรียกว่า Kappamaki เป็นชื่อที่ได้มาจากปีศาจน้ำกัปปะที่ชื่นชอบการกินแตงกวาเป็นพิเศษ และซูชิชนิดนี้นิยมทานเพื่อล้างปากระหว่างการทานปลาดิบกับอาหารชนิดอื่นๆ เพื่อที่เราจะได้เข้าถึงรสชาติของปลาดิบได้มากขึ้นนั่นเอง

* มากิซูชิ (Maki Sushi) Makizushi หรือ Norimaki หรือ Makimono ซูชิรูปทรงกระบอกม้วนยาว ใช้สาหร่ายแผ่กว้างใส่ข้าวใส่ผักใส่เนื้อหรือปลาลงไป วางบนแผ่นไม่ไผ่ที่ใช่ห่อซูชิ แล้วม้วนให้เข้ากัน ตัดให้พอดีคำ

* Uramaki ซูชิรูปทรงกระบอกขนาดกลางๆ ใช้ข้าวห่อ สาหร่าย แตงกวา มายองเนส อะโวคาโด แครอท เนื้อปู ทูน่า ม้วนละโรยด้วยเมล็ดงา

* Gunkan maki ข้าวปั้นรูปไข่ ใช้สาหร่ายพันรอบข้าวและมีอาหารทะเลหรือของสดวางไว้ข้างบน แต้มวาซาบิไว้ข้างในด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นไข่ปลา ไข่กุ้ง หอยเม่น เป็นต้น

* Temaki ซูชิรูปกรวยนั่นเอง ไส้ต่างๆ ห่อด้วยข้าวและสาหร่ายอีกชั้นพันห่อเป็นรูปกรวย ซูชิแบบนี้ใช้มือหยิบทานจะถนัดกว่า

* อินะริซูชิ (Inari Sushi) เต้าหู้ทอดแผ่นบางยัดไส้ซูชิเข้าไป มีทั้งข้าว ปลาดิบและผัก บางที่ก็นำไข่บางๆ มาทำเป็นที่ห่อแทนด้วย แต่รสชาติจะหวานกว่า

* ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi) เป็นการจัดปลาดิบ ปลาหมึก กุ้ง ผัก ฯลฯ ที่หั่นเป็นชิ้นๆ วางเรียงบนข้าวในภาชนะต่างๆ ชาวโอซาก้าเรียกว่า Gomokuzushi แบบคันไซไม่มีการจัดเรียงมากมายตักใส่ข้าวลงในชาม โรยด้วยสาหร่ายและผักตามแต่จะชอบแต่ต้องเป็นของที่ไม่หนักท้องเท่าไหร่ ซูชิชนิดนี้จัดทำในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป

* โอชิซูชิ (Oshi Sushi) หรือรูปแบบคันไซจากเมืองโอซาก้า เอาข้าวแล้ววางเนื้อปลาไว้ด้านบนมาอัดลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมตามยาวหั่นขนาดพอดีให้รับประทานเป็นคำๆ

* Temarizushi ข้าวปั้นของเป็นลูกกลมๆ วางหน้าซูชิแต้มวาซาบินิดนึงแล้วห่อกับพลาสติกบีบด้วยฝ่ามือให้เข้ากัน ก็เสร็จเรียบร้อย ก็นิยมใช้อาหารทะเลและอาหารสด อาหารย่างก็ได้เหมือนกัน

* สุงะตะซูชิ (sugata sushi) ซูชิที่ใช้ปลาทั้งตัวมาหั่นแล้วนำเนื้อมาวางบนข้าว

* นาเระซูชิ (naresushi) ซูชิที่มีลักษณะคล้ายกับปลาส้ม

ชิ้นส่วนต่างๆของปลาที่ทำซูชิ

โดยทั่วไปแล้วทูน่าในซูชิมีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน

  • Akami: คือทูน่าที่มีเนื้อสีแดงแบบไร้มัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนหลังปลา และเป็นซูชิแบบทั่วไป, ส่วนเนื้อแดงที่นิยมสุดจะอยู่ Senaka (หลังส่วนกลาง – Middle part of back) และ Sekami (ตรงหลังส่วนหน้า – Upper part of back), ส่วนที่นิยมน้อยที่สุดคือ Seshimo (หลังสุด – Bottom part of back)
  • Toro: คือทูน่าติดมันหรือละลายในปากตามต้นความหมายเดิมของภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นซูชิชั้นดี, Chu-toro ทูน่าตรงท้องส่วนกลาง เป็นส่วนที่มัน ซึ่งอร่อยและแพง, O-toro ทูน่าตรงท้องด้านหน้า เป็นส่วนที่มันที่สุด ซึ่งอร่อยและแพงที่สุด
  • ส่วนอื่นๆ: เช่น Noten (หัวส่วนหน้า), Hoho (แก้ม), Kama (แก้มด้านหลัง) อาจไม่ค่อยเจอบ่อยในร้านทั่วไป ต้องบางร้านที่มีเมนูเฉพาะเท่านั้น

อยากขายซูชิ

 

CR.http://th.wikipedia.org/wiki/