0

ชุดประจำชาติของญี่ปุ่น

ประวัติของกิโมโน

กิโมโนชุดประจำชาติญี่ปุ่น-pic-001

     สมัยนารา (ค.ศ. 710 – 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย     ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด     ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 – 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ      ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตเอง เรียกว่าเป็น “ชุดเครื่องแบบ” โดยชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง

     สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 – 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น

Kimonos-Uchikake-2

นอกจากชุดกิโมโนแล้ว ยังมีชุดอีกแบบซึ่งถือว่าสวยที่สุด มีชื่อว่า อูชิคาเคะ (uchikake) จะเป็นชุดกิโมโนยาวเต็มยศซึ่งเจ้าสาวจะเป็นผู้สวมใส่ในพิธีแต่งงาน ตัดเย็บจากผ้าไหมประดับด้วยดิ้นไหมสีทองและเงิน ส่วยใหญ่จะเป็นลวดลายดอกไม้หรือนก
     กิโมโนมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ชุดกิโมโนสำหรับผู้หญิงที่ยังเป็นโสดและแต่งงานแล้ว การออกแบบจะแตกต่างกัน รวมถึงสีสันความยาวของชายเสื้อ และลวดลาย เนื้อผ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสของการสวมใส่และเป็นพิธีการหรือไม่เป็นทางการ แรกเริ่มเดิมทีผู้หญิงญี่ปุ่นจะสวมใส่กิโมโนในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ และโอกาสสำคัญ ๆ เช่น การเติบโตเป็นสาวเต็มตัว, งานเลี้ยงจบการศึกษา, งานแต่งงาน และงานพิธีศพ เป็นต้น
     หากเปรียบเทียบการตัดเย็บเสื้อผ้าระหว่างชุดของตะวันตกกับชุดกิโมโนของญี่ปุ่นแล้ว จะเห็นถึงความแตกต่างในด้านการตัดเย็บเพราะชุดของตะวันตก สามารถดัดแปลงแก้ไขตามขนาดของผู้สวมใส่ให้พอดี แต่ชุดกิโมโนจะใช้วิธีตัดเย็บขนาดให้หลวมพอประมาณแต่จะแก้ไขให้พอดีตัวเมื่อต้องนมาสวมใส่ ดังนั้นจึงต้องใช้ผู้ชำนาญการเป็นพิเศษสำหรับตัดเย็บ ทุกวันนี้หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นซึ่งคุ้นเคยกับการสวมเสื้อผ้าแบบตะวันตก จึงไม่สามารถที่จะใส่ชุดกิโมโนได้ด้วยตัวเอง
     ความปรณีตและความสวยงามของชุดกิโมโนจะบังเกิดขึ้นมาได้ก็ด้วยการตัดเย็บด้วยฝีมือของช่างตัดเสื้อโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว หากผู้ชายจะสวมใส่ชุดกิโมโนบ้างในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เพราะจะต้องออกมารับแขกที่มาเยือนบ้าน และในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ อาจจะเหลือเพียงแค่เสื้อคลุมครึ่งท่อน (haori) และกระโปรงแบ่งครึ่ง (hakama)
ชุดผ้าฝ้าย ยูคาตะ (yukata) ก็ถือว่าเป็นชุดกิโมโนอย่างไม่เป็นทางการซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูร้อนเมื่อสวมใส่อยู่กับบ้านจะให้ความสบายไม่ร้อนอบอ้าว

การตัดเย็บ   

     ชุดกิโมโน อาจจะตัดเย็บแบบเดินลายเส้นของผ้าหรือไม่ก็ได้ หรือเย็บตะเข็บด้วยผ้าฝ้ายก็ได้ หากไม่เดินลายเส้น นิยมสวมใส่ในช่วงเดือน มิ.ย. ถึง ก.ย. แต่ทุกวันนี้ การสวมชุดยาคาตะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ส่วนการออกไปนอกบ้าน นิยมสวมชุดกิโมโนตัดเย็บจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย ในขณะที่ชุดกิโมโนเดินลายเส้นของผ้า จะสวมใส่กันในช่วงเดือน ต.ค. ถึงเดือนพ.ค. แต่จะเย็บด้วยผ้าไหม หรือผ้าสำลี
     สำหรับชุดกิโมโนที่เป็นพิธีการสำหรับผู้ชายจะเป็น ผ้าไหมสีดำ มีตราประจำตระกูลเป็นสีขาว ส่วนของผู้หญิงก็จะแตกต่างกันไป เช่น เป็นชุดผ้าไหมสีขาวหรือแดง ประดับด้วยไหมยกสีทองหรือสีเงิน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะนิยมผ้าไหมสีเข้ม การออกแบบไม่ฉูดฉาด เช่น ชุดสำหรับไปร่วมงานศพ ก็จะเป็นสีดำเข้มไปเลย
ส่วนใหญ่การสวมชุดกิโมโนจะต้องสวมถุงเท้า (tabi) มีเสื้อชั้นในส่วนบน และผ้าพันรอบใต้กระโปรง จากนั้นจึงสวมกิโมโนทับ ซึ่งจะมีผ้ารัดเอว (datemaki) ไว้อย่างหนาแน่น ปกเสื้อนิยมสีขาว และจะต้องให้เห็นปกเสื้อประมาณ 1นิ้วเมื่อสวมกิโมโนทับ สาบเสื้อใช้ซ้ายทับขวา ทั้งหมดนี้คือวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอาทิตย์อุทัยที่สืบทอดกันมานับพันปี

CR.http://www.student.chula.ac.th/~53373259/kimono.htm